การสอบสวนการประกันภัย

Insurance Investigation

« ไม่ยอมรับการเคลมประกันที่ฉ้อฉล »

Underwriting investigations

เพื่อป้องกันและลดการเคลมประกันที่ฉ้อฉล อินเทกริตี้ ประเทศไทย ให้บริการในการตรวจสอบ ที่ปรึกษาของเราจะออกแบบโปรแกรมการรับประกันภัยสำหรับลูกค้าของเรา ตามขอบเขตงานที่ตกลงกันไว้ ผู้ตรวจสอบของเราจะดำเนินการตรวจสอบและรับหลักฐานเพื่อสนับสนุนกระบวนการพิจารณารับประกันภัย อินทิกริตี้ ประเทศไทย ให้บริการตรวจสอบการเรียกร้องสินไหมแก่บริษัทประกันภัยเพื่อ

Claim investigations

รวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและหลักฐานที่จำเป็นในการยอมรับหรือปฏิเสธการเรียกร้องสินไหมที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต, สุขภาพ, และประกันวินาศ

ผู้ตรวจสอบของเราดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้:

01

สัมภาษณ์ตัวแทนละแวกบ้านและเพื่อนบ้าน

02

สัมภาษณ์นายจ้าง

03

ค้นหาไดเร็กทอรี (ไดเร็กทอรีโทรศัพท์, ไดเร็กทอรีออนไลน์, ฐานข้อมูลต่างๆ)

04

ตรวจสอบสื่อเฉพาะ (อินเทอร์เน็ตและหนังสือพิมพ์, ข่าวมรณกรรมต่างๆ ฯลฯ)

05

สัมภาษณ์ผู้ป่วย, ครอบครัว, หรือเพื่อนของผู้ป่วย

06

ค้นหาพยาน

07

ขอข้อมูลเวชระเบียน

08

การบันทึกข้อความ (เขียนด้วยลายมือ, แถลงการณ์ที่มีลายเซ็น, บันทึกเทป)

09

การรวบรวมหลักฐานภาพถ่าย

10

การเฝ้าระวังและการตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ

11

การยืนยันกับสถาบันหรือองค์กรในระดับชาติหรือระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานสาธารณสุข, ตำรวจ, โรงพยาบาล, คลินิก ห้องปฏิบัติการ, แพทย์, สัปเหร่อ, สถานเก็บศพ, และหรือฌาปนสถาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Articles

การป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัทจากพนักงานที่มีสถานภาพทางการเมือง

บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Politically Exposed Person หรือ PEP) หมายถึง ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายบริหาร (ฝ่ายปกครอง) ตลอดจนสมาชิกพรรคการเมือง บุคคลดังกล่าวมีอิทธิพลด้านนโยบายและการดำเนินงานของพรรคการเมือง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทางกฎหมายหรือชื่อเสียงแก่บริษัท รวมถึงโทษทางอาญาและความเสียหายต่อแบรนด์เนื่องจากการเอื้อผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้องที่อาจเกิดขึ้น เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การฟอกเงิน หรือการติดสินบน เป็นต้น ความสำคัญของการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) การตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) มีความสำคัญต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่ยึดมั่นในความโปร่งใสและจริยธรรมด้านการดำเนินธุรกิจ โดยการตรวจสอบดังกล่าวเป็นการส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อธุรกิจ แม้ว่าการที่นักการเมืองบริหารงานในองค์กรเอกชนจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่อินโดนีเซียมีระเบียบ Peraturan Otoritas Jasa Keuangan Nomor 12 /POJK.01/2017 จัดทำโดย OJK (Financial Services Agency) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน การตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองสามารถตรวจสอบได้ทั้งผู้สมัครงานและพนักงานปัจจุบันของบริษัท โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเสี่ยงสูงหรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering หรือ AML) เช่น ธนาคารพาณิชย์ ใครควรดำเนินการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) ในการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) มีความเป็นไปได้จะมีสรุปเป็น ผลลัพธ์ผลบวกปลอม...

Articles

หนึ่งในปัญหาสำคัญของระบบแจ้งเบาะแสที่อาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรง

ระบบการแจ้งเบาะแสได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถใช้ในการตรวจพบการฉ้อโกง ไม่ว่าจะเป็น การประพฤติมิชอบ การทุจริต การสินบน และพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณอื่น ๆ ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หน่อยงานหรือองค์กรไม่ได้รับรายงายการฉ้อโกงเนื่องจากความท้าทายและอุปสรรคต่าง ๆ ในกระบวนการการแจ้งเบาะแสแม้ว่าจะมีการคุ้มครองตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสก็ตาม    มีงานวิจัยในหัวข้อ "In a Breaking the Silence: The Efficacy of Whistleblowing in Improving Transparency" โดย นาย Rehg และคณะ พบว่า อุปสรรคสำคัญคือ การขาดการสนับสนุนเมื่อมีการแจ้งเบาะแสการทุจริตฉ้อโกงจากหน่วยงานหรือองค์กร ระบบแจ้งเบาะแสจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้องค์กรหรือหน่วยงานที่มีวัฒนธรรมแบบเปิด (open culture) ยึดหลักจรรยาบรรณ และการส่งเสริมให้พนักงานรายงานหรือแจ้งเหตุเมื่อพบเห็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่มีเพียงบริษัทไม่กี่รายเท่านั้นที่ผลักดันระบบแจ้งเบาะแสดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ   ระบบแจ้งเบาะแสในฐานะตัวชี้วัด กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจจาก บริษัท Jiwasraya ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีระบบการแจ้งเบาะแสทุจริตฉ้อโกง แต่กลับไม่มีพนักงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรายงานเบาะแสทุจริตฉ้อโกงที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ส่งผลให้บริษัทสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลกว่าหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยข้อผิดพลาดของระบบการแจ้งเบาะแสของบริษัท Jiwasraya เกิดจากการขาดการสนับสนุนเมื่อได้รับการแจ้งเบาะแส การขาดการสนับสนุนหลังได้รับการแจ้งเบาะแสนี้เองที่ส่งผลให้ผู้ที่แจ้งเบาะแสรู้สึกว่าตัวเองถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ งานวิจัยที่มีชื่อว่า “Whistleblowing and Anti-Corruption...

Articles

ความเข้าใจและการคาดการณ์ความเสี่ยงจากการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด

ตามรายงานของ ACFE ในไตรมาส 4 ของปี 2022 พบว่า ระบบการแจ้งการกระทำผิด สามารถตรวจจับกรณีตัวอย่างการทุจริตและประพฤติมิชอบสูงถึงร้อยละ 42 และได้รับการตรวจพบอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยดังกล่าวยังพบว่า ระบบการตรวจสอบดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องมือตรวจสอบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของระบบขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในการรายงานหรือตั้งประเด็น ตลอดจนการให้ความคุ้มครองแก่ผู้รายงานการกระทำผิดด้วย   การเป็นผู้รายงานการกระทำผิดไม่ใช่เรื่องง่าย  สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายมีความเห็นเดียวกันคือการเป็นผู้รายงานการกระทำผิดไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อพิจารณาความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การข่มขู่ การถูกไล่ออกจากงาน ตลอดจนความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับตัวผู้รายงาน หนึ่งในกรณีศึกษามาจากบริษัท Slync บริษัทมีการไล่พนักงานหลายสิบคนหลังจากพนักงานรายงานการทุจริตฉ้อโกงภายในบริษัท ซึ่งผู้ยักยอกเงินดังกล่าวไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็น CEO ของบริษัท จากการรายงานของสื่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (SEC) พบว่า อดีตผู้บริหารบริษัทSlync อย่าง Christopher S. Kirchner ถูกกล่าวหาว่าได้ทำการยักยอกเงินจากบริษัทกว่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเงินลงทุน เพื่อตอบสนองวิธีชีวิตที่หรูหราของตน เช่น การซื้อเครื่องบินส่วนตัว เช่าอสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ การรายงานยังพบว่า นาย Christopher ยังได้นำเงินจากบัญชีธนาคารของบริษัท มาใช้การส่วนตัวอีกด้วย โดยนาย...