ห้องข่าว

บทความของเรา

การป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัทจากพนักงานที่มีสถานภาพทางการเมือง

หนึ่งในปัญหาสำคัญของระบบแจ้งเบาะแสที่อาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรง

ความเข้าใจและการคาดการณ์ความเสี่ยงจากการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด

การสรรหาบุคลากร : ความเร่งด่วนในการจ้างงานและการตรวจสอบบุคคลอ้างอิง

การไม่เปิดเผยตัวตนในการแจ้งเบาะแส: ข้อดี ข้อเสีย และวิธีแก้ปัญหา

ความท้าทายของการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในประเทศไทย

Let’s make chocolate!

เก็บเกี่ยวโอกาสทางธุรกิจที่ดีขึ้นด้วยการทำ ESG Due Diligence

ประเทศไทย HR ฟอรั่ม 2018

ข่าวบริษัท

การป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัทจากพนักงานที่มีสถานภาพทางการเมือง

บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Politically Exposed Person หรือ PEP) หมายถึง ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายบริหาร (ฝ่ายปกครอง) ตลอดจนสมาชิกพรรคการเมือง บุคคลดังกล่าวมีอิทธิพลด้านนโยบายและการดำเนินงานของพรรคการเมือง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทางกฎหมายหรือชื่อเสียงแก่บริษัท รวมถึงโทษทางอาญาและความเสียหายต่อแบรนด์เนื่องจากการเอื้อผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้องที่อาจเกิดขึ้น เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การฟอกเงิน หรือการติดสินบน เป็นต้น ความสำคัญของการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) การตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP)... อ่านเพิ่มเติม

หนึ่งในปัญหาสำคัญของระบบแจ้งเบาะแสที่อาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรง

ระบบการแจ้งเบาะแสได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถใช้ในการตรวจพบการฉ้อโกง ไม่ว่าจะเป็น การประพฤติมิชอบ การทุจริต การสินบน และพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณอื่น ๆ ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หน่อยงานหรือองค์กรไม่ได้รับรายงายการฉ้อโกงเนื่องจากความท้าทายและอุปสรรคต่าง ๆ ในกระบวนการการแจ้งเบาะแสแม้ว่าจะมีการคุ้มครองตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสก็ตาม    มีงานวิจัยในหัวข้อ "In a Breaking the Silence: The... อ่านเพิ่มเติม

ความเข้าใจและการคาดการณ์ความเสี่ยงจากการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด

ตามรายงานของ ACFE ในไตรมาส 4 ของปี 2022 พบว่า ระบบการแจ้งการกระทำผิด สามารถตรวจจับกรณีตัวอย่างการทุจริตและประพฤติมิชอบสูงถึงร้อยละ 42 และได้รับการตรวจพบอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยดังกล่าวยังพบว่า ระบบการตรวจสอบดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องมือตรวจสอบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของระบบขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในการรายงานหรือตั้งประเด็น ตลอดจนการให้ความคุ้มครองแก่ผู้รายงานการกระทำผิดด้วย   การเป็นผู้รายงานการกระทำผิดไม่ใช่เรื่องง่าย  สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายมีความเห็นเดียวกันคือการเป็นผู้รายงานการกระทำผิดไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อพิจารณาความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การข่มขู่... อ่านเพิ่มเติม

การสรรหาบุคลากร : ความเร่งด่วนในการจ้างงานและการตรวจสอบบุคคลอ้างอิง

การตรวจสอบประวัติการทำงานและบุคคลอ้างอิงถือเป็นสองส่วนสำคัญในการตรวจสอบข้อมูลผู้สมัครงานเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ผู้สมัครงานระบุในเรซูเม่มีความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหน   เรื่องจริง หรือ เรื่องแต่ง: การตรวจสอบภายใต้หลักความเที่ยงตรง ในการสมัครงาน ผู้สมัครมักเพิ่มข้อมูลที่เกินจริงในเรซูเม่ ไม่ว่าจะในเรื่องความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน หรือค่าตอบแทน เพื่อให้เรซูเม่มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเพิ่มโอกาสในการได้รับการตอบกลับจากองค์กรหรือหน่วยงานที่สมัคร การตัดสินใจของแผนกสรรหาบุคลากรโดยอาศัยข้อมูลจากทางผู้สมัครเพียงด้านเดียวจึงเป็นการตัดสินที่ไม่รัดกุมนัก การตรวจสอบของมูลจากเรซูเม่และการสัมภาษณ์อย่างละเอียดกับผู้สมัคร เป็นสองวิธีหลักที่ใช้ในกระบวนการสรรหาบุคลากรอย่างแพร่หลายอย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของสองวิธีดังกล่าวคือการที่หน่วยงานหรือองค์กรตรวจสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากผู้สมัครงานเท่านั้น และเนื่องจากข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลจากแหล่งเดียวจึงต้องมีการตรวจสอบและรับรองโดยละเอียดถี่ถ้วน ในการตรวจสอบประวัติ แผนกสรรหาบุคลากรยังจำเป็นต้องตรวจสอบประวัติการทำงานและบุคคลอ้างอิงของผู้สมัครงานอย่างละเอียด รวมถึงข้อมูลด้านอื่นของผู้สมัครงานที่ไม่ได้รับจากการสัมภาษณ์หรือระบุในเรซูเม่ เช่น การประเมินผลปฏิบัติงาน พฤติกรรมในที่ทำงาน ไลฟ์สไตล์ของผู้สมัคร เป็นต้น จากประสิทธิภาพการทำงานต่ำ... อ่านเพิ่มเติม

การไม่เปิดเผยตัวตนในการแจ้งเบาะแส: ข้อดี ข้อเสีย และวิธีแก้ปัญหา

ระบบการแจ้งเบาะแสมีบทบาทสำคัญในการตรวจจับการประพฤติมิชอบและเป็นส่งเสริมพฤติกรรมที่มีจริยธรรมภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว การ "แจ้งเบาะแส" อาจทำให้ผู้แจ้งเบาะแสตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ ผู้ที่เปิดเผยการประพฤติมิชอบอาจต้องเผชิญกับการตอบโต้ การคุกคาม หรือการสะท้อนกลับทางวิชาชีพอื่นๆ เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่บุคคลต่างๆมักจะลังเลที่จะรายงานเหตุที่ต้องสงสัยทางอาญาที่พวกเขาพบเจอ ซึ่งจากการศึกษาของ ACFE ระบุว่ายิ่งการฉ้อโกงใช้เวลานานเท่าใด ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และเพื่อเอาชนะความเสี่ยงเหล่านี้ นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในการส่งเสริมความไว้วางใจและความโปร่งใสให้เป็นวัฒนธรรมภายในองค์กร ซึ่งการไม่เปิดเผยตัวตนในระบบการแจ้งเบาะแสนี้นับเป็นบทบาทสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมเหล่านี้ ข้อดีและข้อเสียของการไม่เปิดเผยตัวตน  จากการสำรวจที่จัดทำโดย ACFE และ IAA... อ่านเพิ่มเติม

ความท้าทายของการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในประเทศไทย

การว่าจ้างพนักงานที่เคยก่ออาชญากรรม คือ หนึ่งในความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการสรรหาบุคลากร ดังนั้นในการสรรหาบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานเชิงกลยุทธ์ หรือ ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในที่สาธารณะ ขั้นตอนการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครงานจึงมีความจำเป็นเพื่อที่บริษัทหรือองค์กรจะมั่นใจได้ว่าผู้สมัครงานไม่เคยมีประวัติการก่ออาชญากรรม หากผู้สมัครงานเคยมีประวัติขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา ไม่ต้องลังเลเลยว่าประวัติดังกล่าวจำเป็นที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาความเหมาะสมในการเป็นผู้ประกอบอาชีพให้บริการรถโดยสารสาธารณะ หรือ พนักงานขับรถขนส่งสินค้าหรือไม่  นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมผู้สมัครงาน เพื่อลดความเสี่ยงในการว่าจ้างผู้ที่มีประวัติอาชญากรรม และได้กลายมาเป็นหลักปฏิบัติในหลายบริษัทโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการขนส่ง อย่างไรก็ตามการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมเป็นงานที่ท้าทายเนื่องจากความแตกต่างในบริบทของแต่ละประเทศ ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญความท้าทายดังกล่าว เพราะการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในดินแดนแห่งรอยยิ้มนี้มีกระบวนการและขั้นตอนที่เฉพาะตัว ข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ ระบบตุลาการของไทยแบ่งการพิจารณาคดีออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) ศาลชั้นต้น... อ่านเพิ่มเติม

กิจกรรม ล่าสุด

Company News

Let’s make chocolate!

กิจกรรมงานฉลองครบรอบ 21 ปีของ อิเทกริตี้เอเชีย ไม่ได้จัดแค่ที่จาการ์ตา-อินโดนีเซียเท่านั้น...