ระบบแจ้งเบาะแส

Whistleblowing System

« หนึ่งในเครื่องมือตรวจจับการฉ้อโกงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด »

ความปลอดภัย, ความเป็นนิรนาม, และการรักษาความลับ

Canary Whistleblowing System ช่วยให้ผู้แจ้งเบาะแสสามารถรายงานข้อกังวลของตนได้อย่างปลอดภัย ผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับตัวเลือกการรักษาความลับได้หลาก หลายทางรวมถึงช่องทางที่ปลอดภัยในการได้รับข้อความหากมีความจำเป็น ผู้แจ้งเบาะแสมีพื้นที่ทำงานที่ปลอดภัยและได้รับความเป็นส่วนตัวซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามรายงานของตนได้ พวกเขาสามารถเห็นสถานะของแต่ละการรายงานเบาะแสตามเวลาจริงและมีการปฏิบัติการที่อาจจำเป็น

 

มีช่องทางและภาษาให้เลือกมากมายในการแจ้งเบาะแส

Canary Whistleblowing System มอบช่องทางการรายงานที่หลากหลายแก่ผู้แจ้งเบาะแสที่เชื่อมโยงกับเว็บแอปพลิเคชันหลัก: Canary Whistleblowing System ให้บริการภาษาที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หรือประชากรเป้าหมายของคุณ

WBS-2.0-7-Channels-500x500-1-300x300

มี 7 ช่องทางให้เลือก

เว็บไซต์ที่ปลอดภัย

ข้อความ

โทรศัพท์

ไปรษณีย์

แอพมือถือ

อีเมล

แชทออนไลน์

ระบบการจัดการเคสเบาะแสรายงาน

ลูกค้าของเราได้รับประโยชน์จากระบบการรายงานนี้เพื่อจัดการกับเคสเบาะแสการกระทำความผิดที่มีการรายงานเข้ามา รวมถึงจอแสดงผลที่มีตัวเลขข้อมูลสถิติ, งานปัจจุบัน, และกรณีปัญหาต่างๆที่มีการแจ้งเข้ามา ระบบการจัดการเคสช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถดำเนินการต่างๆ เช่น การรับข้อมูลเพิ่มเติม, การเก็บเคสแบบถาวร, หรือแม้แต่การส่งเคสไปยังแผนกอื่น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายด่วนแจ้งเบาะแส,โปรดติดต่อเราหรือคลิก: www.canary-whistleblowing.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

corruption korupsi
Articles

เปิดโปงการทุจริต: การต่อสู้เพื่อความโปร่งใส

ดัชนีการรับรู้เรื่องการทุจริตในองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประจำปี 2565 จัดอันดับประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 101 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเปิดเผยให้เห็นถึงสัญญาณของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการต่อสู้กับการทุจริต ในขณะที่ประเทศไทยพยายามล้างระบบทุจริต คดีที่โด่งดังสองคดีล่าสุดซึ่งดึงดูดความสนใจของคนประเทศ และได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการทุจริตนี้ คือคดีอื้อฉาวเกี่ยวกับ Thailand Waterfront Suits and Residences และการทุจริตของกลุ่มเจ้าหน้าที่ในอุทยานแห่งชาติของประเทศ รัฐบาลไทยได้ขยายขอบเขตกฎระเบียบควบคุมและต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างแข็งขันเพื่อสนองตอบต่อคดีทุจริตที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ความพยายามในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นนี้ขยายความครอบคลุมไปมากกว่าเฉพาะภาครัฐ ซึ่งขณะนี้ภาคเอกชนได้มีการสนองตอบอย่างแข็งขันด้วยเช่นกัน โดยบริษัทที่ถูกพบว่ามีการละเมิดกฎระเบียบเหล่านี้ต้องรับการลงโทษในความผิดทางอาญาและเสียค่าปรับเป็นเงินจำนวนมาก กรอบกฎหมาย: กฎระเบียบต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย การต่อสู้กับการทุจริตในประเทศไทยนั้นมีกรอบกฎหมายที่สำคัญซึ่งถูกกำหนดโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉบับใหม่” กฎหมายนี้มีผลใช้แทนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตปี 1999 (“OACC ฉบับเก่า”) และมีการแก้ไขเพิ่มเติม ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉบับใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงและขยายความครอบคลุมมากขึ้น โดยมีการกำหนดให้บริษัทต่างๆ ต้องรับผิดชอบในฐานะนิติบุคคล ในอันที่จะต้องตกอยู่ภายใต้การคว่ำบาตรการมีส่วนร่วมกับการติดสินบนหากพบการกระทำผิด ซึ่งมีการขยายความครอบคลุมรวมความผิดที่เกี่ยวเนื่องถึงพนักงาน หุ้นส่วนกิจการร่วมค้า และบริษัทคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ การแก้ไขที่สำคัญภายในพระราชบัญญัติต่อต้านการทุจริตฉบับใหม่ยังขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคลต่างประเทศด้วย_ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทต่างชาติที่ดำเนินการในประเทศไทยจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎระเบียบการต่อต้านการทุจริตนี้ องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของความพยายามในการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทยคือพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะหรือที่เรียกว่ากฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ซึ่งได้ตระหนักถึงความอ่อนไหวของการจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐต่อการทุจริตและการติดสินบน กฎหมายนี้จึงกำหนดกฎเกณฑ์เฉพาะสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เช่นเดียวกับมาตรการควบคุมการต่อต้านการทุจริตภายในพระราชบัญญัติต่อต้านการทุจริตฉบับใหม่ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะบังคับใช้ข้อกำหนดเบื้องต้นโดยกำหนดให้ธุรกิจที่เข้าร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับโครงการที่มีมูลค่าเกิน 500 ล้านบาท (ประมาณ 15 ล้านเหรียญสหรัฐ) จำเป็นจะต้องจัดทำนโยบายต่อต้านการทุจริตและดำเนินมาตรการควบคุมการต่อต้านการทุจริตภายใน บทบาทของมาตรการควบคุมการต่อต้านการคอร์รัปชั่นภายใน มาตรการควบคุมการต่อต้านการทุจริตภายในถือเป็นกลไกสำคัญในการปกป้องธุรกิจ, เจ้าหน้าที่, และบุคคลที่เกี่ยวข้องจากผลกระทบที่สร้างความเสียหายจากการทุจริตและคดีติดสินบนโดยถึงแม้ว่ากฎระเบียบเหล่านี้มิได้กำหนดมาตรการควบคุมไว้อย่างชัดเจน แต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ...

corruption ko
Articles

การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในประเทศไทย: ภาพรวมอย่างครอบคลุม

กระบวนการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญในหลายองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การขนส่ง การก่อสร้าง และการดูแลสุขภาพ การตรวจสอบนี้ถือเป็นเครื่องมือหลักในกระบวนการคัดกรองประวัติการจ้างงาน และมีความสำคัญสำหรับแผนกทรัพยากรบุคคลในกระบวนการตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนที่จะจ้างพนักงานในอนาคต การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมถือเป็นเครื่องมือหลักในการเปิดเผยประเด็นและข้อมูลสำคัญของพนักงาน เช่น ประวัติการขับรถขณะเมาสุรา การใช้วุฒิการศึกษาปลอม ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันตรายที่มักพบและเกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทย การดำเนินการตรวจสอบทางอาญาในประเทศไทยสามารถกระทำได้ในสองวิธีด้วยกัน: การตรวจสอบทางศาลอาญาและการตรวจสอบทางบันทึกของตำรวจ การตรวจสอบผ่านทางศาลอาญาในประเทศไทย ข้อมูลจากศาลเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในกระบวนการตรวจสอบ เช่น: 1. การปราศจากซึ่งฐานข้อมูลสาธารณะในรูปแบบออนไลน์และมีลักษณะรวมศูนย์: ระบบตุลาการของประเทศไทยยังไม่มีเว็บไซต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเข้าถึงข้อมูลได้ในรูปแบบออนไลน์และมีลักษณะรวมศูนย์ อันจะนำไปสู่ความสามารถในการเข้าถึงฐานข้อมูลสารบบคดีความในรูปแบบสาธารณะได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นศาลในแต่ละแห่งมีการเก็บรักษาฐานข้อมูลคดีความในแต่ละศาลไว้แยกกัน 2. โครงสร้างระบบตุลาการ: ระบบตุลาการของไทยประกอบด้วย ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา 3. ความแปรผันเชิงจังหวัด: จำนวนศาลในแต่ละจังหวัดมีลักษณะแปรผันตามจำนวนประชากรในแต่ละจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร มีจำนวนศาลมากกว่าจังหวัดตราด ดังนั้นการค้นหาข้อมูลให้มีความครอบคลุมภายใต้เงื่อนไขเหล่านั้นจึงมีข้อจำกัด ศาลแต่ละแห่งทำการเก็บรักษาบันทึกข้อมูลคดีของศาลนั้นๆในแต่ละแห่ง ซึ่งโดยทั่วไปข้อมูลคดีที่เปิดเผยได้จะรวมถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับหมายเลขคดี ชื่อโจทก์/จำเลย ข้อกล่าวหาในคดี วันที่ยื่นคำร้อง/คำพิพากษา และรายละเอียดคำพิพากษา อย่างไรก็ตาม ความท้าทายอาจเกิดขึ้นได้หากบุคคลมีการเปลี่ยนชื่อโดยไม่แจ้งชื่อเก่าให้ทราบ การตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุม การตรวจสอบประวัติทางอาญาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมักเป็นทางเลือกที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลร้องขอจากบริษัทที่ให้บริการตรวจคัดกรองประวัติพนักงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังมิได้จัดให้มีบริการแจ้งผลการตรวจสอบทางออนไลน์ จึงยังจำเป็นต้องเข้ารับผลการตรวจสอบประวัติที่สำนักงาน คุณสมบัติบางประการของการตรวจสอบลักษณะนี้มีดังต่อไปนี้: - ความถูกต้องของข้อมูล: สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเก็บฐานข้อมูลดิจิทัลแบบรวมศูนย์ด้วยข้อมูลที่แม่นยำและเชื่อถือได้ โดยฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบได้จากหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนและลายนิ้วมือของบุคคล ซึ่งข้อมูลมีความแม่นยำและสม่ำเสมอถึงแม้ว่าบุคคลจะมีการเปลี่ยนชื่อก็ตาม - ขั้นตอน: ในการดำเนินการตรวจสอบประวัติทางอาญาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเป็นที่จะต้องกรอกแบบฟอร์มยินยอมเป็นภาษาไทยและส่งให้ตำรวจ พร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคนไทย อย่างไรก็ตาม ด้วยโซลูชันดิจิทัลขณะนี้บุคคลต่างๆ สามารถยื่นขอตรวจสอบประวัติอาชญากรรมทางออนไลน์ได้แล้ว -...

Company News

บริษัท อินเทกริตี้ (ประเทศไทย) เสริมสร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายยุโรปผ่านกิจกรรมร่วมกันของ EABC สมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์

ประเทศไทยซึ่งมีเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวและภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ได้กลายเป็นจุดสนใจสำหรับผู้ประกอบการมืออาชีพที่กำลังมองหาโอกาสและความร่วมมือใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ สมาคมธุรกิจและการพาณิชย์แห่งยุโรป (EABC) ซึ่งเข้าใจถึงความสำคัญของบทบาทของประเทศไทยในภูมิภาค ได้จัดงาน Joint European Networking Event เพื่อรวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำทางธุรกิจทั้งชาวยุโรปและชาวไทย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ที่ โรงแรม The Athenee กรุงเทพ, ประเทศไทย กิจกรรมเครือข่ายร่วมแห่งยุโรปทำหน้าที่เป็นเวทีอันล้ำค่าสำหรับผู้เข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกัน และแสวงหาความร่วมมือที่เป็นไปได้ งานนี้มีผู้เข้าร่วมงานหลากหลายตั้งแต่ผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมไปจนถึงเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ เช่น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้แทนจากอุตสาหกรรมต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ Integrity Asia ซึ่ง Mr. Edouard Helfand กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ ได้ให้เกียรติมาร่วมงาน กิจกรรมกลุ่มเช่นนี้มีบทบาทสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมการเติบโตร่วมกันในภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของธุรกิจระหว่างประเทศ