เก็บเกี่ยวโอกาสทางธุรกิจที่ดีขึ้นด้วยการทำ ESG Due Diligence

เก็บเกี่ยวโอกาสทางธุรกิจที่ดีขึ้นด้วยการทำ ESG Due Diligence

esg due diligenceในขณะที่ได้มีการกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกๆ ปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ในปี พ.ศ. 2565 นี้ ได้มาพร้อมกับแนวคิดใหม่คือ “โลกมีเพียงใบเดียว” (Only One Earth) ซึ่งเป็นแนวคิดที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมในระดับโลก แนวคิดนี้ส่งผลให้ภาคธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากพบว่ามีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่กำลังพยายามลดผลกระทบที่บริษัทมีต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลายบริษัทที่มีส่วนในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบสูง เช่น การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการใช้โมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นโมเดลที่ยึดมั่นในการมีความรับผิดชอบในระดับที่สูงขึ้น ทั้งต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG)

ความท้าทายและปัจจัยผลักดัน

หากให้ยกตัวอย่างในด้านของสิ่งแวดล้อมนั้น หนึ่งในบริษัทธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานของอินโดนีเซีย ได้พิจารณาการสร้างบริษัทที่มีนวัตกรรมที่ก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อที่จะก้าวไปสู่อนาคตที่มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการมุ่งเน้นไปที่การมีความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2603 และในด้านของสังคมนั้น ทางธุรกิจมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชน ทั้งในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนและในรูปแบบระยะยาว อย่างไรก็ตาม เป้าหมายเหล่านี้จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้ หากขาดการมีบทบาทที่สำคัญในบรรษัทภิบาลของบริษัท

เมื่อคำนึงถึงอุตสาหกรรมการสกัดเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่แล้วนั้น อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นเป้าหมายที่เด่นชัดและต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างสูงสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ถึงกระนั้นการเปลี่ยนแปลงไปสู่โมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมากขึ้นด้วยการยึดมั่นใน ESG ที่แข็งแกร่งนั้นได้เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงแต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในประเทศกำลังพัฒนาด้วย ด้วยต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้นซึ่งคาดว่าจะแตะระดับสูงสุดใหม่ในปี พ.ศ. 2565 นี้ อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 และการเคลื่อนไหวทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรป ที่ไม่เพียงแต่สร้างความท้าทายให้กับธุรกิจทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างปัจจัยผลักดันเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย

ประโยชน์ของแผนการ ESG

การมีธุรกิจที่มีแผนการ ESG ที่แข็งแกร่งนั้นก่อให้เกิดประโยชน์จำนวนมาก โดยมันสามารถกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับอิทธิพลทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมได้ ยกตัวอย่างเช่นด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทต่างๆ อาจตั้งเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ในการจัดหา และการสร้างแผนงานเพื่อกำจัดของเสียที่ไม่จำเป็น โดยในด้านสังคมนั้นหลายๆ บริษัทอาจจัดทำโปรแกรมด้านความหลากหลายที่สื่อความหมายสำคัญดำเนินการพัฒนาสุขภาพของพนักงาน รวมไปถึงการพัฒนาชุมชนในระยะยาว นอกจากนี้รากฐานบรรษัทภิบาลที่มั่นคงนั้น ยังสามารถช่วยบริษัทในเรื่องของการสร้างความหลากหลายในทีมผู้บริหารระดับสูงการการพัฒนาจริยธรรมทางธุรกิจ การเพิ่มความโปร่งใสของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว

สิ่งจูงใจอย่างหนึ่งที่หาได้ง่ายคือ การที่ภาคการเงินเสนอแผนการจัดหาเงินทุนที่น่าสนใจสำหรับโครงการเชิงพาณิชย์ด้วยแนวคิดที่ยั่งยืน ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ระบุว่าการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งการเงินที่ยั่งยืนนั้นได้รวมเอาแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) เข้าไว้ในการตัดสินใจทางธุรกิจและกลยุทธ์การลงทุน โดยทำการจัดการกับข้อกังวลต่างๆ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปจนถึงการปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งนี้ได้กลายเป็นกระแสหลักส่วนหนึ่งในตลาดเกิดใหม่มากขึ้น เนื่องจากความต้องการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่ เช่น การดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละตินอเมริกา

นอกเหนือจากแรงจูงใจทางการเงินแล้ว ยังมีแรงจูงใจอีกประการสำหรับธุรกิจที่จะนำแนวทาง ESG มาใช้กับพฤติกรรมเชิงพาณิชย์ของตน สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าข้อกังวลต่างๆ เช่น การใช้แรงงานเด็ก การปล่อยคาร์บอน การเก็บภาษีที่เป็นธรรม และการทุจริต (เนื่องจากขาดความโปร่งใส) อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากและความเสี่ยงที่จะกลายเป็นอันตรายที่มีราคาแพง โดยวิธีที่บริษัทจัดการปัญหาต่างๆ ด้าน ESG นั้น อาจส่งผลต่อความสำเร็จและการประเมินมูลค่าในระยะยาว นักลงทุนที่ตระหนักถึงอันตรายเหล่านี้มากขึ้น จึงได้กำลังมองหาโอกาสในการลงทุนที่จะทำให้พวกเขามีวิธีการที่ดีมากยิ่งขึ้นในการที่จะเพิ่มมูลค่าโดยการกระทำสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างออกไป กล่าวคือในรูปแบบที่ยั่งยืนมากขึ้น

มีโครงการเชิงพาณิชย์จำนวนมากในอินโดนีเซียที่ได้รับผลประโยชน์จากเงินทุนระยะยาว ส่งผลให้เป็นที่โดดเด่นและมีความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรฐกิจมากขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจจำนวนมากได้พยายามดึงดูดนักลงทุนระดับแนวหน้าให้ลงทุนกับแนวคิดทางธุรกิจที่มีผลกระทบต่ำ อย่างไรก็ตามการจัดหาแหล่งเงินทุนหรือการลงทุนดังกล่าว จำเป็นต้องมีการจัดทำกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง และสามารถแสดงให้เจ้าหนี้เห็นได้ว่าการดำเนินธุรกิจเป็นไปตามหลักการ ESG

ESG Due Diligence

โดยทั่วไปแล้ว การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะการดำเนินธุรกิจของเจ้าหนี้หรือนักลงทุนนั้น (due deligence) ไม่ว่าจะโดยละเอียดหรือเพียงบางส่วน จำเป็นต้องมีการกำหนดขอบเขตของการปฏิบัติตามหลักการ ESG ของธุรกิจที่พวกเขาต้องการให้ทุนหรือทำการลงทุน ซึ่งการตรวจสอบด้วยการทำ ESG Due Diligence นั้น สามารถทำหน้าที่เป็นตัวยุติข้อตกลงในกรณีนี้ได้ ตามรายงานของ KPMG หุ้นส่วนไพรเวทอิควิตี้มากกว่าครึ่ง (54%) เลือกที่จะลดราคาเสนอตามการทำ ESG Due Diligence ในขณะที่หนึ่งในสาม (32%) เลือกที่จะขึ้นราคาเสนอซื้อ

นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังได้ออกข้อเสนอสำหรับ “แนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนขององค์กร (Directive on Corporate Sustainability Due Diligence)” โดยกำหนดให้บริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินกิจการงานในแถบยุโรป ซึ่งอยู่ในภาคส่วนที่มีผลกระทบสูง (การเกษตร เหมืองแร่ สิ่งทอ ฯลฯ) ดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะการดำเนินธุรกิจด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการทำ ESG Due Diligence

ทั้งนี้ แม้ว่าบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้รับการยกเว้นจากข้อบังคับนี้ แต่ยังควรมีการเน้นย้ำว่าบริษัทที่เกี่ยวข้องนั้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามกฎระเบียบตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ซึ่งหมายความว่าบุคคลภายนอก บริษัทในเครือ และผู้จัดหาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบทางอ้อมที่กฎระเบียบดังกล่าวจะมีต่อตนเองเช่นกัน


Rahmad

ภาพถ่ายโดย Zbynek Burival บน Unsplash

แชร์โพสต์นี้