การตรวจสอบสถานะธุรกิจ

Due Diligence

« การระบุภูมิหลังของพันธมิตรทางธุรกิจในอนาคตของคุณ »

Due Diligence เป็นการตรวจสอบประวัติเชิงลึกของธุรกิจหรือบุคคลก่อนที่จะเซ็นสัญญา, แต่งตั้งผู้ขาย, หรือเมื่อลูกค้าของเราประเมินบริษัทเป้าหมายหรือทรัพย์สินของบริษัทสำหรับการซื้อกิจการ การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจอย่างรอบคอบโดยการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของข้อมูลที่มีอยู่เพื่อพิจารณา คณะที่ปรึกษาและทีมนักตรวจสอบของเราของมีระเบียบวิธีการอันหลากหลายในการปฏิบัติการตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริงในเชิงลึกซึ่งตรงกับความต้องการของลูกค้าของเรา

Vendor Screening

บริการนี้เป็นการค้นหาข้อมูลแบบ open-source และ desktop searches เพื่อตรวจสอบและมุ่งพิจารณาว่ามีข้อมูลความผิดปกติหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ คณะที่ปรึกษาและทีมนักตรวจสอบของเราดำเนินการตรวจสอบดังต่อไปนี้:

ค้นหาความเป็นเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ผ่านการตรวจสอบเอกสารองค์กร
การสอบถาม open-source รวมถึงการค้นหาผ่านสื่อดิจิทัลและสื่อกายภาพ
การตรวจสอบ Global Sanctions checks ซึ่งเป็นชุดการค้นหาในฐานข้อมูลระดับโลกเพื่อดูว่าผู้สมัครอยู่ในรายการคว่ำบาตรระหว่างประเทศสำหรับอาชญากรรมหรือไม่

Reputational Due Diligence

บริการนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการค้นหาข้อมูลเแบบ open-source และ desktop searches พิจารณาการมีอยู่ของสิ่งแจ้งเตือนถึงความผิดปกติหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนชื่อเสียงและผลงานของบริษัทและผู้บริหารของบริษัท คณะที่ปรึกษาและทีมนักตรวจสอบของเราดำเนินการตรวจสอบดังต่อไปนี้:

ค้นหาความเป็นเจ้าของผู้รับประโยชน์ผ่านการตรวจสอบเอกสารองค์กร
การสอบถามข้อมูลแบบ open-source รวมถึงการสืบค้นข้อมูลจากสื่อดิจิทัลและสื่อทางกายภาพ
การตรวจสอบการคว่ำบาตรทั่วโลก
การลงพื้นที่จริงเพื่อตรวจสอบภาคสนาม
การตรวจสอบชื่อเสียงกับลูกค้าและซัพพลายเออร์
การสอบถามผู้ให้ข้อมูลหลัก
บทสรุปสำหรับผู้บริหารพร้อมมุมมองเชิงบริบทและการวิเคราะห์ความเสี่ยง

Enhanced Due Diligence

บริการนี้เป็นการผสมผสานระหว่าง Reputational Due Diligence และการสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัท เมื่อลูกค้าของเราอนุญาติให้มีการสัมภาษณ์ดังกล่าว วิธีการนี้ได้รับการพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพมาก วิธีการสัมภาษณ์และแบบสอบถามการปฏิบัติตามข้อกำหนดของเราช่วยให้เราสามารถหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่หลากหลาย และระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งช่วยให้เราสามารถเจาะลึกลงไปในทุกแง่มุมของวิธีการตรวจสอบสถานะแบบดั้งเดิม คณะที่ปรึกษาและทีมนักตรวจสอบของเราดำเนินการตรวจสอบดังต่อไปนี้:

ค้นหาความเป็นเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ผ่านเอกสารองค์กร
การสอบถาม open-source รวมถึงการสืบค้นข้อมูลจากสื่อดิจิทัลและสื่อทางกายภาพ
การตรวจสอบการคว่ำบาตรทั่วโลก
การลงพื้นที่จริงเพื่อตรวจสอบภาคสนาม
การตรวจสอบชื่อเสียงกับลูกค้าและซัพพลายเออร์
การสอบถามผู้ให้ข้อมูลหลัก
สัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัทเป้าหมาย
ทบทวนข้อมูลที่ค้นพบทั้งหมดและปฏิบัติการเชิงวิจัยเพิ่มเติม
บทสรุปสำหรับผู้บริหารพร้อมมุมมองเชิงบริบทและการวิเคราะห์ความเสี่ยง

Know Your Vendor™ Solution

สำหรับการคัดกรองบริษัท (vendor screening) จำนวนมาก Integrity Thailand มีบริการแอพพลิเคชั่น Know Your Vendor™

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Articles Thailand

ความท้าทายของการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในประเทศไทย

การว่าจ้างพนักงานที่เคยก่ออาชญากรรม คือ หนึ่งในความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการสรรหาบุคลากร ดังนั้นในการสรรหาบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานเชิงกลยุทธ์ หรือ ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในที่สาธารณะ ขั้นตอนการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครงานจึงมีความจำเป็นเพื่อที่บริษัทหรือองค์กรจะมั่นใจได้ว่าผู้สมัครงานไม่เคยมีประวัติการก่ออาชญากรรม หากผู้สมัครงานเคยมีประวัติขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา ไม่ต้องลังเลเลยว่าประวัติดังกล่าวจำเป็นที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาความเหมาะสมในการเป็นผู้ประกอบอาชีพให้บริการรถโดยสารสาธารณะ หรือ พนักงานขับรถขนส่งสินค้าหรือไม่  นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมผู้สมัครงาน เพื่อลดความเสี่ยงในการว่าจ้างผู้ที่มีประวัติอาชญากรรม และได้กลายมาเป็นหลักปฏิบัติในหลายบริษัทโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการขนส่ง อย่างไรก็ตามการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมเป็นงานที่ท้าทายเนื่องจากความแตกต่างในบริบทของแต่ละประเทศ ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญความท้าทายดังกล่าว เพราะการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในดินแดนแห่งรอยยิ้มนี้มีกระบวนการและขั้นตอนที่เฉพาะตัว ข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ ระบบตุลาการของไทยแบ่งการพิจารณาคดีออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) ศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลระดับล่างสุดในโครงสร้างกระบวนการยุติธรรม (2) ศาลอุทธรณ์ ซึ่งพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำตัดสินของศาลชั้นต้น และ (3) ศาลฎีกา ซึ่งพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำตัดสินของศาลอุทธรณ์ ส่วนศาลประจำจังหวัดนั้นจะมีจำนวนของศาลขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในพื้นที่ จังหวัดที่มีประชากรมากสามารถมีศาลอยู่ภายในเขตได้หลายศาล เช่น กรุงเทพมหานคร ที่มีจำนวนศาลทั้งหมด 3 แห่ง ในขณะที่จังหวัดตราดมีศาลเพียงแค่ 1 แห่ง แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ในประเทศไทยไม่มีเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลกลางของระบบศาลในประเทศ ฐานข้อมูลของศาลแต่ละแห่งนั้นแยกฝ่ายกัน ทุก ๆ ศาลมีคอมพิวเตอร์ที่จัดเตรียมฐานข้อมูลคดีความไว้ให้แก่ผู้ที่ต้องการสืบค้นรายละเอียดของผู้สมัครงาน ซึ่งการค้นหาข้อมูลดังกล่าวทำได้แบบออฟไลน์เท่านั้น การลงพื้นที่ : สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุที่ฐานข้อมูลออนไลน์ไม่สามารถเข้าถึงได้ การสืบค้นประวัติอาชญากรรมในประเทศไทยจึงต้องไปดำเนินการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่านั้น โดยต้องมีหนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลจากผู้สมัครเพื่อใช้ในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว หากทำการสืบค้นด้วยวิธีข้างต้นแล้วพบว่าผู้สมัครงานมีประวัติอาชญากรรม ในขั้นตอนต่อไปต้องดำเนินการติดต่อศาลหรือสำนักงานตำรวจในพื้นที่ที่เกิดเหตุอาชญากรรมนั้น เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับคดีโดยละเอียด อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคดีความเหล่านี้ บางรายลังเลที่จะให้รายละเอียด...

Company News

Let’s make chocolate!

กิจกรรมงานฉลองครบรอบ 21 ปีของ อิเทกริตี้เอเชีย ไม่ได้จัดแค่ที่จาการ์ตา-อินโดนีเซียเท่านั้น แต่ทีมในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ทีมประเทศไทยก็มีกิจกรรมสนุกๆทำร่วมกันเช่นกัน  ในการเฉลิมฉลองครั้งนี้ ทีมมารวมกันในตอนบ่ายเพิ่มจะไปทำช็อคโกแลตด้วยกันที่โรงแรม  S/O กิจกรรมครั้งนี้ทำที่ Chocolab ซึ่งเป็นคาเฟต์ที่สอนการทำช็อคโกแลตโดยเฉพาะ  ภายใต้การชี้แนะของเชฟปิติ แสงมณี ทีมได้เรียนรู้การทำช็อคโกแลตในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด รวมถึงได้ลงมือทำช็อคโกแลตรูปแบบต่างๆของตัวเองอีกด้วย ในตอนที่ทำช็อคโกแลตแต่ละคนก็ต่างปล่อยของ รังสรรค์ผลงานของตัวเอง และก็สนุกสนานกันอย่างเต็มที่ การทำกิจกกรมครั้งนี้ถือเป็นการร่วมฉลองวันเกิดให้กับ อินเทกริตี้โดยที่สมาชิกในทีมได้มารวมกันหลังจากที่ต้องทำงานแบบ hybrid มากว่า 2 ปี เนื่องจากสถาณการณ์โควิด ไม่ต้องสงสัยเลยว่ากิจกรรมพิเศษนี้ช่วยสานสัมพันธ์และเสริมความแข็งแกร่งของทีมได้เป็นอย่างดี และพวกเราก็ตั้งตารอที่จะเติบโตและก้าวเดินไปกับอินเทกริตี้ในทุกๆปี

Articles

เก็บเกี่ยวโอกาสทางธุรกิจที่ดีขึ้นด้วยการทำ ESG Due Diligence

ในขณะที่ได้มีการกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกๆ ปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ในปี พ.ศ. 2565 นี้ ได้มาพร้อมกับแนวคิดใหม่คือ “โลกมีเพียงใบเดียว” (Only One Earth) ซึ่งเป็นแนวคิดที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมในระดับโลก แนวคิดนี้ส่งผลให้ภาคธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากพบว่ามีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่กำลังพยายามลดผลกระทบที่บริษัทมีต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลายบริษัทที่มีส่วนในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบสูง เช่น การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการใช้โมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นโมเดลที่ยึดมั่นในการมีความรับผิดชอบในระดับที่สูงขึ้น ทั้งต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ความท้าทายและปัจจัยผลักดัน หากให้ยกตัวอย่างในด้านของสิ่งแวดล้อมนั้น หนึ่งในบริษัทธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานของอินโดนีเซีย ได้พิจารณาการสร้างบริษัทที่มีนวัตกรรมที่ก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อที่จะก้าวไปสู่อนาคตที่มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการมุ่งเน้นไปที่การมีความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2603 และในด้านของสังคมนั้น ทางธุรกิจมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชน ทั้งในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนและในรูปแบบระยะยาว อย่างไรก็ตาม เป้าหมายเหล่านี้จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้ หากขาดการมีบทบาทที่สำคัญในบรรษัทภิบาลของบริษัท เมื่อคำนึงถึงอุตสาหกรรมการสกัดเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่แล้วนั้น อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นเป้าหมายที่เด่นชัดและต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างสูงสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ถึงกระนั้นการเปลี่ยนแปลงไปสู่โมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมากขึ้นด้วยการยึดมั่นใน ESG ที่แข็งแกร่งนั้นได้เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงแต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในประเทศกำลังพัฒนาด้วย ด้วยต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้นซึ่งคาดว่าจะแตะระดับสูงสุดใหม่ในปี พ.ศ. 2565 นี้ อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19...