Articles

corruption korupsi

เปิดโปงการทุจริต: การต่อสู้เพื่อความโปร่งใส

ดัชนีการรับรู้เรื่องการทุจริตในองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประจำปี 2565 จัดอันดับประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 101 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเปิดเผยให้เห็นถึงสัญญาณของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการต่อสู้กับการทุจริต ในขณะที่ประเทศไทยพยายามล้างระบบทุจริต คดีที่โด่งดังสองคดีล่าสุดซึ่งดึงดูดความสนใจของคนประเทศ และได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการทุจริตนี้ คือคดีอื้อฉาวเกี่ยวกับ Thailand Waterfront Suits and Residences และการทุจริตของกลุ่มเจ้าหน้าที่ในอุทยานแห่งชาติของประเทศ รัฐบาลไทยได้ขยายขอบเขตกฎระเบียบควบคุมและต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างแข็งขันเพื่อสนองตอบต่อคดีทุจริตที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ความพยายามในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นนี้ขยายความครอบคลุมไปมากกว่าเฉพาะภาครัฐ ซึ่งขณะนี้ภาคเอกชนได้มีการสนองตอบอย่างแข็งขันด้วยเช่นกัน โดยบริษัทที่ถูกพบว่ามีการละเมิดกฎระเบียบเหล่านี้ต้องรับการลงโทษในความผิดทางอาญาและเสียค่าปรับเป็นเงินจำนวนมาก กรอบกฎหมาย: กฎระเบียบต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย การต่อสู้กับการทุจริตในประเทศไทยนั้นมีกรอบกฎหมายที่สำคัญซึ่งถูกกำหนดโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉบับใหม่” กฎหมายนี้มีผลใช้แทนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตปี 1999 (“OACC ฉบับเก่า”) และมีการแก้ไขเพิ่มเติม ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉบับใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงและขยายความครอบคลุมมากขึ้น โดยมีการกำหนดให้บริษัทต่างๆ ต้องรับผิดชอบในฐานะนิติบุคคล ในอันที่จะต้องตกอยู่ภายใต้การคว่ำบาตรการมีส่วนร่วมกับการติดสินบนหากพบการกระทำผิด ซึ่งมีการขยายความครอบคลุมรวมความผิดที่เกี่ยวเนื่องถึงพนักงาน หุ้นส่วนกิจการร่วมค้า และบริษัทคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ การแก้ไขที่สำคัญภายในพระราชบัญญัติต่อต้านการทุจริตฉบับใหม่ยังขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคลต่างประเทศด้วย_ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทต่างชาติที่ดำเนินการในประเทศไทยจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎระเบียบการต่อต้านการทุจริตนี้ องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของความพยายามในการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทยคือพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะหรือที่เรียกว่ากฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ซึ่งได้ตระหนักถึงความอ่อนไหวของการจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐต่อการทุจริตและการติดสินบน กฎหมายนี้จึงกำหนดกฎเกณฑ์เฉพาะสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เช่นเดียวกับมาตรการควบคุมการต่อต้านการทุจริตภายในพระราชบัญญัติต่อต้านการทุจริตฉบับใหม่ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะบังคับใช้ข้อกำหนดเบื้องต้นโดยกำหนดให้ธุรกิจที่เข้าร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับโครงการที่มีมูลค่าเกิน 500 ล้านบาท (ประมาณ 15 ล้านเหรียญสหรัฐ) จำเป็นจะต้องจัดทำนโยบายต่อต้านการทุจริตและดำเนินมาตรการควบคุมการต่อต้านการทุจริตภายใน บทบาทของมาตรการควบคุมการต่อต้านการคอร์รัปชั่นภายใน มาตรการควบคุมการต่อต้านการทุจริตภายในถือเป็นกลไกสำคัญในการปกป้องธุรกิจ, เจ้าหน้าที่, และบุคคลที่เกี่ยวข้องจากผลกระทบที่สร้างความเสียหายจากการทุจริตและคดีติดสินบนโดยถึงแม้ว่ากฎระเบียบเหล่านี้มิได้กำหนดมาตรการควบคุมไว้อย่างชัดเจน แต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ...

อ่านเพิ่มเติม...
corruption ko

การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในประเทศไทย: ภาพรวมอย่างครอบคลุม

กระบวนการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญในหลายองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การขนส่ง การก่อสร้าง และการดูแลสุขภาพ การตรวจสอบนี้ถือเป็นเครื่องมือหลักในกระบวนการคัดกรองประวัติการจ้างงาน และมีความสำคัญสำหรับแผนกทรัพยากรบุคคลในกระบวนการตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนที่จะจ้างพนักงานในอนาคต การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมถือเป็นเครื่องมือหลักในการเปิดเผยประเด็นและข้อมูลสำคัญของพนักงาน เช่น ประวัติการขับรถขณะเมาสุรา การใช้วุฒิการศึกษาปลอม ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันตรายที่มักพบและเกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทย การดำเนินการตรวจสอบทางอาญาในประเทศไทยสามารถกระทำได้ในสองวิธีด้วยกัน: การตรวจสอบทางศาลอาญาและการตรวจสอบทางบันทึกของตำรวจ การตรวจสอบผ่านทางศาลอาญาในประเทศไทย ข้อมูลจากศาลเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในกระบวนการตรวจสอบ เช่น: 1. การปราศจากซึ่งฐานข้อมูลสาธารณะในรูปแบบออนไลน์และมีลักษณะรวมศูนย์: ระบบตุลาการของประเทศไทยยังไม่มีเว็บไซต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเข้าถึงข้อมูลได้ในรูปแบบออนไลน์และมีลักษณะรวมศูนย์ อันจะนำไปสู่ความสามารถในการเข้าถึงฐานข้อมูลสารบบคดีความในรูปแบบสาธารณะได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นศาลในแต่ละแห่งมีการเก็บรักษาฐานข้อมูลคดีความในแต่ละศาลไว้แยกกัน 2. โครงสร้างระบบตุลาการ: ระบบตุลาการของไทยประกอบด้วย ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา 3. ความแปรผันเชิงจังหวัด: จำนวนศาลในแต่ละจังหวัดมีลักษณะแปรผันตามจำนวนประชากรในแต่ละจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร มีจำนวนศาลมากกว่าจังหวัดตราด ดังนั้นการค้นหาข้อมูลให้มีความครอบคลุมภายใต้เงื่อนไขเหล่านั้นจึงมีข้อจำกัด ศาลแต่ละแห่งทำการเก็บรักษาบันทึกข้อมูลคดีของศาลนั้นๆในแต่ละแห่ง ซึ่งโดยทั่วไปข้อมูลคดีที่เปิดเผยได้จะรวมถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับหมายเลขคดี ชื่อโจทก์/จำเลย ข้อกล่าวหาในคดี วันที่ยื่นคำร้อง/คำพิพากษา และรายละเอียดคำพิพากษา อย่างไรก็ตาม ความท้าทายอาจเกิดขึ้นได้หากบุคคลมีการเปลี่ยนชื่อโดยไม่แจ้งชื่อเก่าให้ทราบ การตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุม การตรวจสอบประวัติทางอาญาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมักเป็นทางเลือกที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลร้องขอจากบริษัทที่ให้บริการตรวจคัดกรองประวัติพนักงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังมิได้จัดให้มีบริการแจ้งผลการตรวจสอบทางออนไลน์ จึงยังจำเป็นต้องเข้ารับผลการตรวจสอบประวัติที่สำนักงาน คุณสมบัติบางประการของการตรวจสอบลักษณะนี้มีดังต่อไปนี้: - ความถูกต้องของข้อมูล: สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเก็บฐานข้อมูลดิจิทัลแบบรวมศูนย์ด้วยข้อมูลที่แม่นยำและเชื่อถือได้ โดยฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบได้จากหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนและลายนิ้วมือของบุคคล ซึ่งข้อมูลมีความแม่นยำและสม่ำเสมอถึงแม้ว่าบุคคลจะมีการเปลี่ยนชื่อก็ตาม - ขั้นตอน: ในการดำเนินการตรวจสอบประวัติทางอาญาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเป็นที่จะต้องกรอกแบบฟอร์มยินยอมเป็นภาษาไทยและส่งให้ตำรวจ พร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคนไทย อย่างไรก็ตาม ด้วยโซลูชันดิจิทัลขณะนี้บุคคลต่างๆ สามารถยื่นขอตรวจสอบประวัติอาชญากรรมทางออนไลน์ได้แล้ว -...

อ่านเพิ่มเติม...

การตรวจสอบก่อนจ้างงาน: การได้รับการยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล

บริษัทของคุณได้รับการยินยอมจากผู้สมัครงานก่อนตรวจสอบประวัติเพื่อจ้างงานหรือไม่? ในอินโดนีเซีย การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 20 ปี 2016 เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PPD) กฎหมาย PDD ถือเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งสำหรับทีมสรรหาบุคลากรเมื่อทำการคัดกรองพนักงานที่มีศักยภาพ ปัจจุบัน การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลมีความเข้มงวดมากในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น สาธารณสุข การเงิน ภาษี และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ PPD เป็นกฎหมายที่การคุ้มครองการได้มาซึ่งข้อมูล การรวบรวม การประมวลผล การวิเคราะห์ การจัดเก็บข้อมูล การนำไปใช้ การประกาศ การส่งต่อ การเผยแพร่และการทำลายข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 2 ย่อหน้า (1) ดังนั้นในการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลประวัติของผู้สมัครงานอย่างถูกกฎหมาย บริษัทจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้สมัคร ตามมาตรา 6 ซึ่งบริษัทมีหน้าที่จัดทำแบบฟอร์มยินยอมสำหรับใช้งานในอินโดนีเซีย ซึ่งจะต้องลงนามโดยผู้สมัครก่อนการตรวจสอบประวัติ ในจดหมาย จะต้องระบุว่า บริษัท และ/หรือ ผู้ให้บริการตรวจสอบประวัติที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทฯ ของผู้สมัครงานได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่ระบุไว้ในจดหมายสมัครงาน โดยจะใช้งานข้อมูลดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการสรรหาบุคลากรเท่านั้น นอกจากนี้จะต้องระบุประเภทการตรวจสอบประวัติเอาไว้ในจดหมายอนุมัติ ซึ่งทั่วไปประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน ข้อมูลเงินเดือน ความสามารถและพฤติกรรมของผู้สมัครงาน นอกจากนี้ควรมีการแจ้งระยะเวลาในการตรวจสอบในจดหมายไว้ในจดหมายเช่นกัน...

อ่านเพิ่มเติม...

การแจ้งเบาะแส: 5 มาตรการบริษัท ลดผลกระทบจากการแจ้งเบาะแส

ผู้คนต่างรู้กันดีว่าถ้าหากมีการรายงานการกระทำผิด ผู้รายงานมักได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากผู้กระทำผิดหรือผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการกีดกันของเพื่อนร่วมงาน การข่มขู่ การเลิกจ้าง ตลอดจนการคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ แม้ว่าบริษัทจะมีระบบสำหรับแจ้งเบาะแสภายใน แต่หลายครั้งที่พนักงานเกิดความลังเลในการรายงานเบาะแสดังกล่าวแก่บริษัท ซึ่งอาจนำมาสู่ความเสียหายและผู้กระทำผิดไม่ได้รับบทลงโทษที่เหมาะสม ผลสำรวจจาก Ethics Resource Center (ERC) (2007) หัวข้อ National Business Ethics Survey พบว่า วัฒนธรรมด้านวินัยและจรรยาบรรณที่เหนียวแน่นขององค์กรสามารถลดความเสี่ยงด้านการทุจริตฉ้อโกงและส่งเสริมให้มีการรายงานการกระทำผิดในอัตราที่สูงขึ้น นอกจากนี้ งานวิจัย Whistleblowers Live ‘Happily Ever After? ’ a Review of Literature on Whistleblowing and its Implication โดย Dr. Purnimal Sehgal พบว่า การที่บริษัทหรือองค์กรหนึ่งจะสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง และจรรยาบรรณที่ดีจำต้องเน้นการสื่อสาร มีความมุ่งมั่น และความเป็นผู้นำ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมข้างต้น บริษัทควรวางนโยบายหรือมาตรการเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแจ้งเบาะแส เพื่อเป็นการสื่อสารว่าองค์กรมีความมุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและมีจริยธรรมด้วยมาตรการดังต่อไปนี้: ช่องทางการรายงานที่หลากหลาย:...

อ่านเพิ่มเติม...

การป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัทจากพนักงานที่มีสถานภาพทางการเมือง

บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Politically Exposed Person หรือ PEP) หมายถึง ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายบริหาร (ฝ่ายปกครอง) ตลอดจนสมาชิกพรรคการเมือง บุคคลดังกล่าวมีอิทธิพลด้านนโยบายและการดำเนินงานของพรรคการเมือง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทางกฎหมายหรือชื่อเสียงแก่บริษัท รวมถึงโทษทางอาญาและความเสียหายต่อแบรนด์เนื่องจากการเอื้อผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้องที่อาจเกิดขึ้น เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การฟอกเงิน หรือการติดสินบน เป็นต้น ความสำคัญของการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) การตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) มีความสำคัญต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่ยึดมั่นในความโปร่งใสและจริยธรรมด้านการดำเนินธุรกิจ โดยการตรวจสอบดังกล่าวเป็นการส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อธุรกิจ แม้ว่าการที่นักการเมืองบริหารงานในองค์กรเอกชนจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่อินโดนีเซียมีระเบียบ Peraturan Otoritas Jasa Keuangan Nomor 12 /POJK.01/2017 จัดทำโดย OJK (Financial Services Agency) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน การตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองสามารถตรวจสอบได้ทั้งผู้สมัครงานและพนักงานปัจจุบันของบริษัท โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเสี่ยงสูงหรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering หรือ AML) เช่น ธนาคารพาณิชย์ ใครควรดำเนินการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) ในการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) มีความเป็นไปได้จะมีสรุปเป็น ผลลัพธ์ผลบวกปลอม...

อ่านเพิ่มเติม...

หนึ่งในปัญหาสำคัญของระบบแจ้งเบาะแสที่อาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรง

ระบบการแจ้งเบาะแสได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถใช้ในการตรวจพบการฉ้อโกง ไม่ว่าจะเป็น การประพฤติมิชอบ การทุจริต การสินบน และพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณอื่น ๆ ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หน่อยงานหรือองค์กรไม่ได้รับรายงายการฉ้อโกงเนื่องจากความท้าทายและอุปสรรคต่าง ๆ ในกระบวนการการแจ้งเบาะแสแม้ว่าจะมีการคุ้มครองตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสก็ตาม    มีงานวิจัยในหัวข้อ "In a Breaking the Silence: The Efficacy of Whistleblowing in Improving Transparency" โดย นาย Rehg และคณะ พบว่า อุปสรรคสำคัญคือ การขาดการสนับสนุนเมื่อมีการแจ้งเบาะแสการทุจริตฉ้อโกงจากหน่วยงานหรือองค์กร ระบบแจ้งเบาะแสจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้องค์กรหรือหน่วยงานที่มีวัฒนธรรมแบบเปิด (open culture) ยึดหลักจรรยาบรรณ และการส่งเสริมให้พนักงานรายงานหรือแจ้งเหตุเมื่อพบเห็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่มีเพียงบริษัทไม่กี่รายเท่านั้นที่ผลักดันระบบแจ้งเบาะแสดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ   ระบบแจ้งเบาะแสในฐานะตัวชี้วัด กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจจาก บริษัท Jiwasraya ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีระบบการแจ้งเบาะแสทุจริตฉ้อโกง แต่กลับไม่มีพนักงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรายงานเบาะแสทุจริตฉ้อโกงที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ส่งผลให้บริษัทสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลกว่าหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยข้อผิดพลาดของระบบการแจ้งเบาะแสของบริษัท Jiwasraya เกิดจากการขาดการสนับสนุนเมื่อได้รับการแจ้งเบาะแส การขาดการสนับสนุนหลังได้รับการแจ้งเบาะแสนี้เองที่ส่งผลให้ผู้ที่แจ้งเบาะแสรู้สึกว่าตัวเองถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ งานวิจัยที่มีชื่อว่า “Whistleblowing and Anti-Corruption...

อ่านเพิ่มเติม...

ความเข้าใจและการคาดการณ์ความเสี่ยงจากการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด

ตามรายงานของ ACFE ในไตรมาส 4 ของปี 2022 พบว่า ระบบการแจ้งการกระทำผิด สามารถตรวจจับกรณีตัวอย่างการทุจริตและประพฤติมิชอบสูงถึงร้อยละ 42 และได้รับการตรวจพบอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยดังกล่าวยังพบว่า ระบบการตรวจสอบดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องมือตรวจสอบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของระบบขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในการรายงานหรือตั้งประเด็น ตลอดจนการให้ความคุ้มครองแก่ผู้รายงานการกระทำผิดด้วย   การเป็นผู้รายงานการกระทำผิดไม่ใช่เรื่องง่าย  สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายมีความเห็นเดียวกันคือการเป็นผู้รายงานการกระทำผิดไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อพิจารณาความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การข่มขู่ การถูกไล่ออกจากงาน ตลอดจนความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับตัวผู้รายงาน หนึ่งในกรณีศึกษามาจากบริษัท Slync บริษัทมีการไล่พนักงานหลายสิบคนหลังจากพนักงานรายงานการทุจริตฉ้อโกงภายในบริษัท ซึ่งผู้ยักยอกเงินดังกล่าวไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็น CEO ของบริษัท จากการรายงานของสื่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (SEC) พบว่า อดีตผู้บริหารบริษัทSlync อย่าง Christopher S. Kirchner ถูกกล่าวหาว่าได้ทำการยักยอกเงินจากบริษัทกว่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเงินลงทุน เพื่อตอบสนองวิธีชีวิตที่หรูหราของตน เช่น การซื้อเครื่องบินส่วนตัว เช่าอสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ การรายงานยังพบว่า นาย Christopher ยังได้นำเงินจากบัญชีธนาคารของบริษัท มาใช้การส่วนตัวอีกด้วย โดยนาย...

อ่านเพิ่มเติม...

การสรรหาบุคลากร : ความเร่งด่วนในการจ้างงานและการตรวจสอบบุคคลอ้างอิง

การตรวจสอบประวัติการทำงานและบุคคลอ้างอิงถือเป็นสองส่วนสำคัญในการตรวจสอบข้อมูลผู้สมัครงานเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ผู้สมัครงานระบุในเรซูเม่มีความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหน   เรื่องจริง หรือ เรื่องแต่ง: การตรวจสอบภายใต้หลักความเที่ยงตรง ในการสมัครงาน ผู้สมัครมักเพิ่มข้อมูลที่เกินจริงในเรซูเม่ ไม่ว่าจะในเรื่องความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน หรือค่าตอบแทน เพื่อให้เรซูเม่มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเพิ่มโอกาสในการได้รับการตอบกลับจากองค์กรหรือหน่วยงานที่สมัคร การตัดสินใจของแผนกสรรหาบุคลากรโดยอาศัยข้อมูลจากทางผู้สมัครเพียงด้านเดียวจึงเป็นการตัดสินที่ไม่รัดกุมนัก การตรวจสอบของมูลจากเรซูเม่และการสัมภาษณ์อย่างละเอียดกับผู้สมัคร เป็นสองวิธีหลักที่ใช้ในกระบวนการสรรหาบุคลากรอย่างแพร่หลายอย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของสองวิธีดังกล่าวคือการที่หน่วยงานหรือองค์กรตรวจสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากผู้สมัครงานเท่านั้น และเนื่องจากข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลจากแหล่งเดียวจึงต้องมีการตรวจสอบและรับรองโดยละเอียดถี่ถ้วน ในการตรวจสอบประวัติ แผนกสรรหาบุคลากรยังจำเป็นต้องตรวจสอบประวัติการทำงานและบุคคลอ้างอิงของผู้สมัครงานอย่างละเอียด รวมถึงข้อมูลด้านอื่นของผู้สมัครงานที่ไม่ได้รับจากการสัมภาษณ์หรือระบุในเรซูเม่ เช่น การประเมินผลปฏิบัติงาน พฤติกรรมในที่ทำงาน ไลฟ์สไตล์ของผู้สมัคร เป็นต้น จากประสิทธิภาพการทำงานต่ำ ตลอดจนการปลอมแปลงใบแจ้งเงินเดือน กรณีแรกเป็นข้อมูลที่พบจากการตรวจสอบประวัติผู้สมัครงานในตำแหน่งผู้บริหาร (Administrative Executive) จากการตรวจสอบบุคคลอ้างอิงซึ่งเป็นหัวหน้าเก่าของผู้สมัคร เราได้รับข้อมูลว่าผู้สมัครงานมีพฤติกรรมที่น่าเป็นน่ากังวล โดยในระยะสามเดือนที่ผู้สมัครงานทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง ผู้สมัครงานไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม และได้ทำการการปลอมแปลงเอกสารของบริษัท โดยใช้ตราประทับของบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือจากผู้บังคับบัญชาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว นอกจากนี้ ผู้สมัครได้ทำการปลอมแปลงใบรับรองแพทย์อีกด้วย อีกกรณีที่น่าสนใจคือ ในระหว่างการตรวจสอบบุคคลอ้างอิงพบว่าผู้สมัครงานระบุระยะเวลาการทำงานที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งจากการตรวจสอบในครั้งนี้ยังพบว่าผู้สมัครได้ปลอมสลิปเงินเดือนจากบริษัทเดิมอีกด้วย กรณีศึกษาทั้งสองเป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของข้อมูลประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับจากการตรวจสอบประวัติผู้สมัครงาน แน่นอนว่าข้อมูลเชิงลึกที่ได้ยกตัวอย่างในข้างต้นมีความสำคัญต่อการตัดสินใจในกระบวนการสรรหาบุคลากรเป็นอย่างมาก การสนับสนุนจากบุคคลที่สามที่มีความสามารถ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ครอบคลุมและแม่นยำยิ่งขึ้น จะต้องใช้กระบวนการตรวจสอบทั้งสองวิธีเข้ากับการตรวจสอบอื่น ๆ เช่น การตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ข้อมูลจากสื่อ และประวัติการศึกษา ในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว บริษัทจำต้องร่วมมือกับบริษัทบุคคลที่สามที่มีความเป็นมืออาชีพ มีความสามารถและทักษะในการตรวจสอบประวัติด้วยกระบวนการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าถึงฐานข้อมูลสาธารณะ และมีความเชี่ยวชาญในสอบถามข้อมูลผ่านบุคคลอ้างอิงเพื่อรวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานของผู้สมัครเป็นกลางและครอบคลุม Integrity...

อ่านเพิ่มเติม...

การไม่เปิดเผยตัวตนในการแจ้งเบาะแส: ข้อดี ข้อเสีย และวิธีแก้ปัญหา

ระบบการแจ้งเบาะแสมีบทบาทสำคัญในการตรวจจับการประพฤติมิชอบและเป็นส่งเสริมพฤติกรรมที่มีจริยธรรมภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว การ "แจ้งเบาะแส" อาจทำให้ผู้แจ้งเบาะแสตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ ผู้ที่เปิดเผยการประพฤติมิชอบอาจต้องเผชิญกับการตอบโต้ การคุกคาม หรือการสะท้อนกลับทางวิชาชีพอื่นๆ เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่บุคคลต่างๆมักจะลังเลที่จะรายงานเหตุที่ต้องสงสัยทางอาญาที่พวกเขาพบเจอ ซึ่งจากการศึกษาของ ACFE ระบุว่ายิ่งการฉ้อโกงใช้เวลานานเท่าใด ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และเพื่อเอาชนะความเสี่ยงเหล่านี้ นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในการส่งเสริมความไว้วางใจและความโปร่งใสให้เป็นวัฒนธรรมภายในองค์กร ซึ่งการไม่เปิดเผยตัวตนในระบบการแจ้งเบาะแสนี้นับเป็นบทบาทสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมเหล่านี้ ข้อดีและข้อเสียของการไม่เปิดเผยตัวตน  จากการสำรวจที่จัดทำโดย ACFE และ IAA ผู้ตอบแบบสอบถามอ้างว่าการไม่เปิดเผยตัวตนคือการพิจารณาสูงสุดต่อความสำเร็จของระบบแจ้งเบาะแส ความสำเร็จในบริบทนี้หมายถึงระบบที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตรวจจับการประพฤติมิชอบหรือการฉ้อโกง ด้วยการอนุญาตให้บุคคลรายงานการประพฤติมิชอบโดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน องค์กรต่างๆ จึงได้จัดให้มีการป้องกันอีกชั้นหนึ่งจากการตอบโต้ที่อาจเกิดขึ้น การปกป้องระดับนี้ส่งเสริมให้พนักงานกล้าแสดงออก โดยรู้ว่าความเป็นส่วนตัวของพวกเขาจะได้รับการเคารพ และพวกเขาจะได้รับการปกป้องจากผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าการไม่เปิดเผยตัวตนจะมีประโยชน์ในการสนับสนุนวัฒนธรรมทางจริยธรรมขององค์กร แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน ข้อเสียประการหนึ่งคือการที่ผู้ตรวจสอบไม่สามารถสื่อสารแบบสองทางกับผู้แจ้งเบาะแสได้ การสื่อสารดังกล่าวจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติม, ชี้แจงเรื่องการละเมิดที่รายงานหรือตรวจสอบหลักฐาน ซึ่งการขาดการสื่อสารดังกล่าวอาจขัดขวางกระบวนการสืบสวนได้ ข้อเสียนี้คือสาเหตุที่บางองค์กรเพิกเฉยต่อการไม่เปิดเผยตัวตนในระบบการแจ้งเบาะแสของตน อย่างไรก็ตาม หากมีการเลือกใช้บริการระบบการแจ้งเบาะแสของบุคคลที่สามที่มีความสามารถและมีประสบการณ์ องค์กรอาจเอาชนะความท้าทายด้านการสื่อสารที่กล่าวถึงนี้ได้ จัดการกับความท้าทาย เหตุใดจึงต้องใช้บริการระบบการแจ้งเบาะแสของบุคคลที่สาม? ประการแรก บุคคลที่สามจะเป็นหน่วยงานภายนอกที่ไม่มีส่วนได้เสียในองค์การ, สร้างความมั่นใจในการอนุมัติตามวัตถุประสงค์และกระบวนการติดตามผลสำหรับรายงาน ประการที่สอง บริษัทไม่จำเป็นต้องจัดสรรทรัพยากรบุคคลและเวลาเพิ่มเติมเพื่อสร้าง, บริหารจัดการและพัฒนาระบบการรายงานการประพฤติมิชอบของตนเอง ในฐานะที่เป็นบุคคลที่สามในการแก้ปัญหาการแจ้งเบาะแส Canary WBS นำเสนอเว็บแอปพลิเคชันพร้อมช่องทางการรายงานที่หลากหลายเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ลูกค้าสามารถเข้าถึงรายงานได้ ในขณะที่ข้อมูลประจำตัวของผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับการคุ้มครอง นอกจากนี้ คุณสมบัติ Canary Mute ยังช่วยให้สามารถสื่อสารสองทางระหว่างผู้แจ้งเบาะแสและผู้ตรวจสอบได้โดยไม่ต้องให้ผู้แจ้งเบาะแสเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล...

อ่านเพิ่มเติม...

ความท้าทายของการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในประเทศไทย

การว่าจ้างพนักงานที่เคยก่ออาชญากรรม คือ หนึ่งในความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการสรรหาบุคลากร ดังนั้นในการสรรหาบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานเชิงกลยุทธ์ หรือ ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในที่สาธารณะ ขั้นตอนการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครงานจึงมีความจำเป็นเพื่อที่บริษัทหรือองค์กรจะมั่นใจได้ว่าผู้สมัครงานไม่เคยมีประวัติการก่ออาชญากรรม หากผู้สมัครงานเคยมีประวัติขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา ไม่ต้องลังเลเลยว่าประวัติดังกล่าวจำเป็นที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาความเหมาะสมในการเป็นผู้ประกอบอาชีพให้บริการรถโดยสารสาธารณะ หรือ พนักงานขับรถขนส่งสินค้าหรือไม่  นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมผู้สมัครงาน เพื่อลดความเสี่ยงในการว่าจ้างผู้ที่มีประวัติอาชญากรรม และได้กลายมาเป็นหลักปฏิบัติในหลายบริษัทโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการขนส่ง อย่างไรก็ตามการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมเป็นงานที่ท้าทายเนื่องจากความแตกต่างในบริบทของแต่ละประเทศ ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญความท้าทายดังกล่าว เพราะการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในดินแดนแห่งรอยยิ้มนี้มีกระบวนการและขั้นตอนที่เฉพาะตัว ข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ ระบบตุลาการของไทยแบ่งการพิจารณาคดีออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) ศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลระดับล่างสุดในโครงสร้างกระบวนการยุติธรรม (2) ศาลอุทธรณ์ ซึ่งพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำตัดสินของศาลชั้นต้น และ (3) ศาลฎีกา ซึ่งพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำตัดสินของศาลอุทธรณ์ ส่วนศาลประจำจังหวัดนั้นจะมีจำนวนของศาลขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในพื้นที่ จังหวัดที่มีประชากรมากสามารถมีศาลอยู่ภายในเขตได้หลายศาล เช่น กรุงเทพมหานคร ที่มีจำนวนศาลทั้งหมด 3 แห่ง ในขณะที่จังหวัดตราดมีศาลเพียงแค่ 1 แห่ง แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ในประเทศไทยไม่มีเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลกลางของระบบศาลในประเทศ ฐานข้อมูลของศาลแต่ละแห่งนั้นแยกฝ่ายกัน ทุก ๆ ศาลมีคอมพิวเตอร์ที่จัดเตรียมฐานข้อมูลคดีความไว้ให้แก่ผู้ที่ต้องการสืบค้นรายละเอียดของผู้สมัครงาน ซึ่งการค้นหาข้อมูลดังกล่าวทำได้แบบออฟไลน์เท่านั้น การลงพื้นที่ : สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุที่ฐานข้อมูลออนไลน์ไม่สามารถเข้าถึงได้ การสืบค้นประวัติอาชญากรรมในประเทศไทยจึงต้องไปดำเนินการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่านั้น โดยต้องมีหนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลจากผู้สมัครเพื่อใช้ในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว หากทำการสืบค้นด้วยวิธีข้างต้นแล้วพบว่าผู้สมัครงานมีประวัติอาชญากรรม ในขั้นตอนต่อไปต้องดำเนินการติดต่อศาลหรือสำนักงานตำรวจในพื้นที่ที่เกิดเหตุอาชญากรรมนั้น เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับคดีโดยละเอียด อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคดีความเหล่านี้ บางรายลังเลที่จะให้รายละเอียด...

อ่านเพิ่มเติม...