Monthly Archives - กันยายน 2023

การตรวจสอบก่อนจ้างงาน: การได้รับการยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล

บริษัทของคุณได้รับการยินยอมจากผู้สมัครงานก่อนตรวจสอบประวัติเพื่อจ้างงานหรือไม่? ในอินโดนีเซีย การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 20 ปี 2016 เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PPD) กฎหมาย PDD ถือเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งสำหรับทีมสรรหาบุคลากรเมื่อทำการคัดกรองพนักงานที่มีศักยภาพ ปัจจุบัน การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลมีความเข้มงวดมากในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น สาธารณสุข การเงิน ภาษี และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ PPD เป็นกฎหมายที่การคุ้มครองการได้มาซึ่งข้อมูล การรวบรวม การประมวลผล การวิเคราะห์ การจัดเก็บข้อมูล การนำไปใช้ การประกาศ การส่งต่อ การเผยแพร่และการทำลายข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 2 ย่อหน้า (1) ดังนั้นในการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลประวัติของผู้สมัครงานอย่างถูกกฎหมาย บริษัทจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้สมัคร ตามมาตรา 6 ซึ่งบริษัทมีหน้าที่จัดทำแบบฟอร์มยินยอมสำหรับใช้งานในอินโดนีเซีย ซึ่งจะต้องลงนามโดยผู้สมัครก่อนการตรวจสอบประวัติ ในจดหมาย จะต้องระบุว่า บริษัท และ/หรือ ผู้ให้บริการตรวจสอบประวัติที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทฯ ของผู้สมัครงานได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่ระบุไว้ในจดหมายสมัครงาน โดยจะใช้งานข้อมูลดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการสรรหาบุคลากรเท่านั้น นอกจากนี้จะต้องระบุประเภทการตรวจสอบประวัติเอาไว้ในจดหมายอนุมัติ ซึ่งทั่วไปประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน ข้อมูลเงินเดือน ความสามารถและพฤติกรรมของผู้สมัครงาน นอกจากนี้ควรมีการแจ้งระยะเวลาในการตรวจสอบในจดหมายไว้ในจดหมายเช่นกัน...

อ่านเพิ่มเติม...

การแจ้งเบาะแส: 5 มาตรการบริษัท ลดผลกระทบจากการแจ้งเบาะแส

ผู้คนต่างรู้กันดีว่าถ้าหากมีการรายงานการกระทำผิด ผู้รายงานมักได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากผู้กระทำผิดหรือผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการกีดกันของเพื่อนร่วมงาน การข่มขู่ การเลิกจ้าง ตลอดจนการคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ แม้ว่าบริษัทจะมีระบบสำหรับแจ้งเบาะแสภายใน แต่หลายครั้งที่พนักงานเกิดความลังเลในการรายงานเบาะแสดังกล่าวแก่บริษัท ซึ่งอาจนำมาสู่ความเสียหายและผู้กระทำผิดไม่ได้รับบทลงโทษที่เหมาะสม ผลสำรวจจาก Ethics Resource Center (ERC) (2007) หัวข้อ National Business Ethics Survey พบว่า วัฒนธรรมด้านวินัยและจรรยาบรรณที่เหนียวแน่นขององค์กรสามารถลดความเสี่ยงด้านการทุจริตฉ้อโกงและส่งเสริมให้มีการรายงานการกระทำผิดในอัตราที่สูงขึ้น นอกจากนี้ งานวิจัย Whistleblowers Live ‘Happily Ever After? ’ a Review of Literature on Whistleblowing and its Implication โดย Dr. Purnimal Sehgal พบว่า การที่บริษัทหรือองค์กรหนึ่งจะสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง และจรรยาบรรณที่ดีจำต้องเน้นการสื่อสาร มีความมุ่งมั่น และความเป็นผู้นำ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมข้างต้น บริษัทควรวางนโยบายหรือมาตรการเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแจ้งเบาะแส เพื่อเป็นการสื่อสารว่าองค์กรมีความมุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและมีจริยธรรมด้วยมาตรการดังต่อไปนี้: ช่องทางการรายงานที่หลากหลาย:...

อ่านเพิ่มเติม...

การป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัทจากพนักงานที่มีสถานภาพทางการเมือง

บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Politically Exposed Person หรือ PEP) หมายถึง ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายบริหาร (ฝ่ายปกครอง) ตลอดจนสมาชิกพรรคการเมือง บุคคลดังกล่าวมีอิทธิพลด้านนโยบายและการดำเนินงานของพรรคการเมือง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทางกฎหมายหรือชื่อเสียงแก่บริษัท รวมถึงโทษทางอาญาและความเสียหายต่อแบรนด์เนื่องจากการเอื้อผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้องที่อาจเกิดขึ้น เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การฟอกเงิน หรือการติดสินบน เป็นต้น ความสำคัญของการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) การตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) มีความสำคัญต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่ยึดมั่นในความโปร่งใสและจริยธรรมด้านการดำเนินธุรกิจ โดยการตรวจสอบดังกล่าวเป็นการส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อธุรกิจ แม้ว่าการที่นักการเมืองบริหารงานในองค์กรเอกชนจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่อินโดนีเซียมีระเบียบ Peraturan Otoritas Jasa Keuangan Nomor 12 /POJK.01/2017 จัดทำโดย OJK (Financial Services Agency) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน การตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองสามารถตรวจสอบได้ทั้งผู้สมัครงานและพนักงานปัจจุบันของบริษัท โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเสี่ยงสูงหรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering หรือ AML) เช่น ธนาคารพาณิชย์ ใครควรดำเนินการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) ในการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEP) มีความเป็นไปได้จะมีสรุปเป็น ผลลัพธ์ผลบวกปลอม...

อ่านเพิ่มเติม...

หนึ่งในปัญหาสำคัญของระบบแจ้งเบาะแสที่อาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรง

ระบบการแจ้งเบาะแสได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถใช้ในการตรวจพบการฉ้อโกง ไม่ว่าจะเป็น การประพฤติมิชอบ การทุจริต การสินบน และพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณอื่น ๆ ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หน่อยงานหรือองค์กรไม่ได้รับรายงายการฉ้อโกงเนื่องจากความท้าทายและอุปสรรคต่าง ๆ ในกระบวนการการแจ้งเบาะแสแม้ว่าจะมีการคุ้มครองตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสก็ตาม    มีงานวิจัยในหัวข้อ "In a Breaking the Silence: The Efficacy of Whistleblowing in Improving Transparency" โดย นาย Rehg และคณะ พบว่า อุปสรรคสำคัญคือ การขาดการสนับสนุนเมื่อมีการแจ้งเบาะแสการทุจริตฉ้อโกงจากหน่วยงานหรือองค์กร ระบบแจ้งเบาะแสจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้องค์กรหรือหน่วยงานที่มีวัฒนธรรมแบบเปิด (open culture) ยึดหลักจรรยาบรรณ และการส่งเสริมให้พนักงานรายงานหรือแจ้งเหตุเมื่อพบเห็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่มีเพียงบริษัทไม่กี่รายเท่านั้นที่ผลักดันระบบแจ้งเบาะแสดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ   ระบบแจ้งเบาะแสในฐานะตัวชี้วัด กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจจาก บริษัท Jiwasraya ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีระบบการแจ้งเบาะแสทุจริตฉ้อโกง แต่กลับไม่มีพนักงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรายงานเบาะแสทุจริตฉ้อโกงที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ส่งผลให้บริษัทสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลกว่าหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยข้อผิดพลาดของระบบการแจ้งเบาะแสของบริษัท Jiwasraya เกิดจากการขาดการสนับสนุนเมื่อได้รับการแจ้งเบาะแส การขาดการสนับสนุนหลังได้รับการแจ้งเบาะแสนี้เองที่ส่งผลให้ผู้ที่แจ้งเบาะแสรู้สึกว่าตัวเองถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ งานวิจัยที่มีชื่อว่า “Whistleblowing and Anti-Corruption...

อ่านเพิ่มเติม...

ความเข้าใจและการคาดการณ์ความเสี่ยงจากการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด

ตามรายงานของ ACFE ในไตรมาส 4 ของปี 2022 พบว่า ระบบการแจ้งการกระทำผิด สามารถตรวจจับกรณีตัวอย่างการทุจริตและประพฤติมิชอบสูงถึงร้อยละ 42 และได้รับการตรวจพบอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยดังกล่าวยังพบว่า ระบบการตรวจสอบดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องมือตรวจสอบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของระบบขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในการรายงานหรือตั้งประเด็น ตลอดจนการให้ความคุ้มครองแก่ผู้รายงานการกระทำผิดด้วย   การเป็นผู้รายงานการกระทำผิดไม่ใช่เรื่องง่าย  สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายมีความเห็นเดียวกันคือการเป็นผู้รายงานการกระทำผิดไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อพิจารณาความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การข่มขู่ การถูกไล่ออกจากงาน ตลอดจนความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับตัวผู้รายงาน หนึ่งในกรณีศึกษามาจากบริษัท Slync บริษัทมีการไล่พนักงานหลายสิบคนหลังจากพนักงานรายงานการทุจริตฉ้อโกงภายในบริษัท ซึ่งผู้ยักยอกเงินดังกล่าวไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็น CEO ของบริษัท จากการรายงานของสื่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (SEC) พบว่า อดีตผู้บริหารบริษัทSlync อย่าง Christopher S. Kirchner ถูกกล่าวหาว่าได้ทำการยักยอกเงินจากบริษัทกว่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเงินลงทุน เพื่อตอบสนองวิธีชีวิตที่หรูหราของตน เช่น การซื้อเครื่องบินส่วนตัว เช่าอสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ การรายงานยังพบว่า นาย Christopher ยังได้นำเงินจากบัญชีธนาคารของบริษัท มาใช้การส่วนตัวอีกด้วย โดยนาย...

อ่านเพิ่มเติม...

การสรรหาบุคลากร : ความเร่งด่วนในการจ้างงานและการตรวจสอบบุคคลอ้างอิง

การตรวจสอบประวัติการทำงานและบุคคลอ้างอิงถือเป็นสองส่วนสำคัญในการตรวจสอบข้อมูลผู้สมัครงานเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ผู้สมัครงานระบุในเรซูเม่มีความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหน   เรื่องจริง หรือ เรื่องแต่ง: การตรวจสอบภายใต้หลักความเที่ยงตรง ในการสมัครงาน ผู้สมัครมักเพิ่มข้อมูลที่เกินจริงในเรซูเม่ ไม่ว่าจะในเรื่องความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน หรือค่าตอบแทน เพื่อให้เรซูเม่มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเพิ่มโอกาสในการได้รับการตอบกลับจากองค์กรหรือหน่วยงานที่สมัคร การตัดสินใจของแผนกสรรหาบุคลากรโดยอาศัยข้อมูลจากทางผู้สมัครเพียงด้านเดียวจึงเป็นการตัดสินที่ไม่รัดกุมนัก การตรวจสอบของมูลจากเรซูเม่และการสัมภาษณ์อย่างละเอียดกับผู้สมัคร เป็นสองวิธีหลักที่ใช้ในกระบวนการสรรหาบุคลากรอย่างแพร่หลายอย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของสองวิธีดังกล่าวคือการที่หน่วยงานหรือองค์กรตรวจสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากผู้สมัครงานเท่านั้น และเนื่องจากข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลจากแหล่งเดียวจึงต้องมีการตรวจสอบและรับรองโดยละเอียดถี่ถ้วน ในการตรวจสอบประวัติ แผนกสรรหาบุคลากรยังจำเป็นต้องตรวจสอบประวัติการทำงานและบุคคลอ้างอิงของผู้สมัครงานอย่างละเอียด รวมถึงข้อมูลด้านอื่นของผู้สมัครงานที่ไม่ได้รับจากการสัมภาษณ์หรือระบุในเรซูเม่ เช่น การประเมินผลปฏิบัติงาน พฤติกรรมในที่ทำงาน ไลฟ์สไตล์ของผู้สมัคร เป็นต้น จากประสิทธิภาพการทำงานต่ำ ตลอดจนการปลอมแปลงใบแจ้งเงินเดือน กรณีแรกเป็นข้อมูลที่พบจากการตรวจสอบประวัติผู้สมัครงานในตำแหน่งผู้บริหาร (Administrative Executive) จากการตรวจสอบบุคคลอ้างอิงซึ่งเป็นหัวหน้าเก่าของผู้สมัคร เราได้รับข้อมูลว่าผู้สมัครงานมีพฤติกรรมที่น่าเป็นน่ากังวล โดยในระยะสามเดือนที่ผู้สมัครงานทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง ผู้สมัครงานไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม และได้ทำการการปลอมแปลงเอกสารของบริษัท โดยใช้ตราประทับของบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือจากผู้บังคับบัญชาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว นอกจากนี้ ผู้สมัครได้ทำการปลอมแปลงใบรับรองแพทย์อีกด้วย อีกกรณีที่น่าสนใจคือ ในระหว่างการตรวจสอบบุคคลอ้างอิงพบว่าผู้สมัครงานระบุระยะเวลาการทำงานที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งจากการตรวจสอบในครั้งนี้ยังพบว่าผู้สมัครได้ปลอมสลิปเงินเดือนจากบริษัทเดิมอีกด้วย กรณีศึกษาทั้งสองเป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของข้อมูลประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับจากการตรวจสอบประวัติผู้สมัครงาน แน่นอนว่าข้อมูลเชิงลึกที่ได้ยกตัวอย่างในข้างต้นมีความสำคัญต่อการตัดสินใจในกระบวนการสรรหาบุคลากรเป็นอย่างมาก การสนับสนุนจากบุคคลที่สามที่มีความสามารถ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ครอบคลุมและแม่นยำยิ่งขึ้น จะต้องใช้กระบวนการตรวจสอบทั้งสองวิธีเข้ากับการตรวจสอบอื่น ๆ เช่น การตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ข้อมูลจากสื่อ และประวัติการศึกษา ในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว บริษัทจำต้องร่วมมือกับบริษัทบุคคลที่สามที่มีความเป็นมืออาชีพ มีความสามารถและทักษะในการตรวจสอบประวัติด้วยกระบวนการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าถึงฐานข้อมูลสาธารณะ และมีความเชี่ยวชาญในสอบถามข้อมูลผ่านบุคคลอ้างอิงเพื่อรวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานของผู้สมัครเป็นกลางและครอบคลุม Integrity...

อ่านเพิ่มเติม...