ความท้าทายของการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในประเทศไทย
การว่าจ้างพนักงานที่เคยก่ออาชญากรรม คือ หนึ่งในความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการสรรหาบุคลากร ดังนั้นในการสรรหาบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานเชิงกลยุทธ์ หรือ ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในที่สาธารณะ ขั้นตอนการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครงานจึงมีความจำเป็นเพื่อที่บริษัทหรือองค์กรจะมั่นใจได้ว่าผู้สมัครงานไม่เคยมีประวัติการก่ออาชญากรรม
หากผู้สมัครงานเคยมีประวัติขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา ไม่ต้องลังเลเลยว่าประวัติดังกล่าวจำเป็นที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาความเหมาะสมในการเป็นผู้ประกอบอาชีพให้บริการรถโดยสารสาธารณะ หรือ พนักงานขับรถขนส่งสินค้าหรือไม่
นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมผู้สมัครงาน เพื่อลดความเสี่ยงในการว่าจ้างผู้ที่มีประวัติอาชญากรรม และได้กลายมาเป็นหลักปฏิบัติในหลายบริษัทโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการขนส่ง อย่างไรก็ตามการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมเป็นงานที่ท้าทายเนื่องจากความแตกต่างในบริบทของแต่ละประเทศ ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญความท้าทายดังกล่าว เพราะการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในดินแดนแห่งรอยยิ้มนี้มีกระบวนการและขั้นตอนที่เฉพาะตัว
ข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ
ระบบตุลาการของไทยแบ่งการพิจารณาคดีออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) ศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลระดับล่างสุดในโครงสร้างกระบวนการยุติธรรม (2) ศาลอุทธรณ์ ซึ่งพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำตัดสินของศาลชั้นต้น และ (3) ศาลฎีกา ซึ่งพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำตัดสินของศาลอุทธรณ์
ส่วนศาลประจำจังหวัดนั้นจะมีจำนวนของศาลขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในพื้นที่ จังหวัดที่มีประชากรมากสามารถมีศาลอยู่ภายในเขตได้หลายศาล เช่น กรุงเทพมหานคร ที่มีจำนวนศาลทั้งหมด 3 แห่ง ในขณะที่จังหวัดตราดมีศาลเพียงแค่ 1 แห่ง
แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ในประเทศไทยไม่มีเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลกลางของระบบศาลในประเทศ ฐานข้อมูลของศาลแต่ละแห่งนั้นแยกฝ่ายกัน ทุก ๆ ศาลมีคอมพิวเตอร์ที่จัดเตรียมฐานข้อมูลคดีความไว้ให้แก่ผู้ที่ต้องการสืบค้นรายละเอียดของผู้สมัครงาน ซึ่งการค้นหาข้อมูลดังกล่าวทำได้แบบออฟไลน์เท่านั้น
การลงพื้นที่ : สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ด้วยเหตุที่ฐานข้อมูลออนไลน์ไม่สามารถเข้าถึงได้ การสืบค้นประวัติอาชญากรรมในประเทศไทยจึงต้องไปดำเนินการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่านั้น โดยต้องมีหนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลจากผู้สมัครเพื่อใช้ในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว
หากทำการสืบค้นด้วยวิธีข้างต้นแล้วพบว่าผู้สมัครงานมีประวัติอาชญากรรม ในขั้นตอนต่อไปต้องดำเนินการติดต่อศาลหรือสำนักงานตำรวจในพื้นที่ที่เกิดเหตุอาชญากรรมนั้น เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับคดีโดยละเอียด
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคดีความเหล่านี้ บางรายลังเลที่จะให้รายละเอียด โดยอ้างถึงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่บังคับใช้เมื่อเร็ว ๆ มานี้
นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้นแล้ว ประเทศยังเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเมียนมา โดยมีพื้นที่ประมาณ 513,120 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศมีความหลากหลาย โดยมีที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ และมีพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศเป็นเทือกเขาสูง ทำให้เกิดความท้าทายด้านเวลาและทรัพยากรบุคคลในการลงพื้นที่
ข้อจำกัดทางด้านภาษา
บริษัทต่างชาติที่ประสงค์จะดำเนินการตรวจสอบประวัติ จำเป็นต้องรับทราบว่าเอกสารที่ใช้ดำเนินการนั้นต้องเป็นเอกสารภาษาไทยทั้งหมด
วัฒนธรรมการเปลี่ยนชื่อตัว
อีกหนึ่งข้อท้าทายที่น่าสนใจนี้เป็นสิ่งที่ควบคู่มากับบริบทวัฒนธรรมไทย ที่สามารถเกิดได้ในขั้นตอนการตรวจประวัติอาชญากรรม นั่นคือ ‘การเปลี่ยนชื่อตัว’ ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับชาวไทยที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
ชาวไทยมีความเชื่อว่าการเปลี่ยนชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาได้ วัฒนธรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในท้องถิ่นให้ปฏิบัติได้ด้วยกระบวนการเปลี่ยนชื่อที่ง่ายดาย
การเปลี่ยนชื่อ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความถูกต้องในการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพราะประชาชนไทยจะได้รับเลขประจำตัวชุดนี้ตั้งแต่เกิดโดยไม่ซ้ำกัน
เลขประจำตัวประชาชน และ ลายนิ้วมือ
แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อหรือเพศ แต่เลขประจำตัวประชาชน 13 หลักจะยังคงเป็นเลขเดิมเสมอ ด้วยเหตุนี้สำเนาบัตรประชาชนจึงจำเป็นในการใช้ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม
ในการขอตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของชาวต่างชาติที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก สามารถทำได้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้ลายนิ้วมือของผู้สมัครชาวต่างชาติแทน
จากความท้าทายที่ต้องรับมือซึ่งกล่าวถึงทั้งหมดนี้ บริษัทต่าง ๆ มีความประสงค์จะทำการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในพื้นที่ และได้มีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุน
การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมด้วยความถูกต้องคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับบริษัทในการตัดสินใจทางธุรกิจที่ถูกต่อง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดต่อตัวองค์กร ทรัพย์สิน รวมถึงพนักงาน